วันสำคัญทางพุทธศาสนา

วันสำคัญทางพุทธศาสนา เป็นวันที่มีเหตุการณ์ที่สำคัญ อันเนื่องด้วยพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า, พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เหตุการณ์ที่สำคัญดังกล่าว เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า คือพุทธบริษัท ๔ ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ให้น้อมรำลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในหลักที่สำคัญ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจรรโลงให้พระพุทธศาสนา ดำรงคงอยู่สถิตสถาพร เป็นคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ตนเองและแก่สัตว์โลกทั้งปวง ซึ่งมิใช่จำกัดอยู่เพียงมนุษยชาติเท่านั้น

เมื่อวันสำคัญทางพุทธศาสนาเวียนมาถึงแต่ละครั้ง พุทธศาสนิกชนพึงน้อมระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยการร่วมชุมนุมเพื่อประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาตามพระอาราม ศาสนสถานต่างๆ โดยวันสำคัญแต่ละวัน ก็จะมีระเบียบพิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันไป

พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนร่วมพิธีพุทธชยันตี ๒,๕๐๐ ปี ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

พุทธชยันตี หรือสัมพุทธชยันตี (อังกฤษ: Sambuddha jayanthi) เป็นเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา คำว่าพุทธชยันตี มาจากศัพท์ พุทธ+ชยันตี (สันสกฤต: जयंती) ที่แปลว่าวันครบรอบ (อังกฤษ: Anniversary) ดังนั้น ในภาษาสันสกฤตพุทธชยันตี จึงแปลว่าการครบรอบวันเกิดของพระพุทธศาสนา หรือวันครบรอบชัยชนะของพระพุทธเจ้า ก็ได้

โดยคำนี้ใช้เรียกการจัดกิจกรรมในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้า เช่น ครบรอบ ๒๕๐๐ ปี แห่งปรินิพพาน หรือ ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ โดยอาจใช้ชื่อต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ เช่น ศรีสัมพุทธชันตี สัมพุทธชยันตี แต่ทั้งหมดก็คือการจัดกิจกรรมพุทธชยันตี เพื่อมุ่งหมายการถวายเป็นพุทธบูชาในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้านั่นเอง

ธงสัญลักษณ์งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีเครื่องหมายธรรมจักรซ้อนทับอยู่บนแถบสีธงฉัพพรรณรังสี

พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี หรือ พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ (อังกฤษ: Buddhajanti: The Celebration of 2,600 Years of the Buddha’s Enlithenment) เป็นเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕

การฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ จัดขึ้นพร้อมกันในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา พม่า และประเทศไทย

โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปี เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองรำลึกในโอกาสครบรอบ ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชา เมื่อ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช (พุทธปรินิพพาน)

วันพระ คือ วันที่มีการทำบุญ ตักบาตร ถวายสังฆทาน ฟังธรรมเทศนา สนทนาธรรม ละเว้นความชั่ว ละเว้นอบายมุขต่างๆ รักษาศีล นั่งสมาธิ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์

วันโกน คือ วันขึ้น ๗ ค่ำกับ ๑๔ ค่ำ และวันแรม ๗ ค่ำกับ ๑๔ ค่ำ ของทุกเดือน (หรือ วันแรม ๑๓ ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด) ซึ่งเป็นวันก่อนวันพระ ๑ วัน เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้

วันพระ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป กล่าวคือ ถ้าเป็นวัน ๘ ค่ำ ใช้ว่า วันอัฏฐมี วัน ๑๔ ค่ำ ใช้ว่า วันจาตุทสี และ ๑๕ ค่ำ ใช้ว่า วันปัณณรสี

วันพระ หรือวันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า

วันมาฆบูชา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวันจาตุรงคสันนิบาต เพราะเป็นวันที่พระพุทธองค์ประทานหลักโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นหัวใจของพระธรรม แก่พระอรหันตสาวกผู้เป็นเอหิภิกขุทั้ง ๑,๒๕๐ รูป ที่มาประชุมพร้อมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมายในวันมาฆปุรณมี

วันมาฆบูชา (บาลี:มาฆปูชา , อักษรโรมัน:Magha Puja , เขมร: មាឃបូជា , ลาว: ມະຄະບູຊາ , สิงหล: නවම් පොහොය) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย คำว่ามาฆบูชา ย่อมาจากมาฆปูรณมีบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินอินเดีย หรือ เดือน ๓ ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน ๓ หลัง (วันเพ็ญเดือน ๔)

วันมาฆบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีก่อน คือ พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา ในคัมภีร์ปปัญจสูทนี ระบุว่า ครั้งนั้นมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน ๔ ประการ คือ พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ได้มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวัน โดยมิได้นัดหมาย, พระภิกษุทั้งหมดนั้นเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระภิกษุทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา ๖ และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญเดือน ๓ ดังนั้น จึงเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่าวันจาตุรงคสันนิบาต หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔

นอกจากนี้แล้ว ในวันดังกล่าวนี้ยังเป็นวันคล้ายวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปลงพระชนมายุสังขาร เป็นครั้งสุดท้าย กล่าวคือ ในพรรษาที่ ๔๕ พรรษาสุดท้ายแห่งการดำเนินพุทธกิจ ขณะที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ทรงประทับจำพรรษาอยู่ที่เวฬุวคาม แขวงเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างพรรษานี้พระพุทธองค์ทรงประชวรอย่างหนัก มีอาการอาพาธอย่างรุนแรง ครั้นถึงวันมาฆบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปลงพระชนมายุสังขาร โดยตั้งพระทัยว่า"นับแต่นี้ต่อไปอีกสามเดือน วันเพ็ญในกลางเดือนหก (วิสาขะ) ปีจอ ตถาคตจักดับขันธปรินิพพานที่เมืองกุสินารา"

ด้วยเหตุดังกล่าว การปลงอายุสังขารของพระพุทธองค์ จึงมีความหมายในภาษาสามัญว่า เป็นการกำหนดวันตายไว้ล่วงหน้านั่นเอง การปลงอายุสังขารนี้มีขึ้น ณ ร่มไม้แห่งหนึ่งในปาวาลเจดีย์ บ้านเวฬุวคาม แขวงเมืองไพศาลี (เมืองไวสาลี ในปัจจุบัน) เวลากลางวัน

ข้อควรปฏิบัติ

ปฏิบัติธรรมสืบสานเจตนารมณ์พระเดชพระคุณคุณูปมาจารย์ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ธ) และรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร โดย ท่าน อ.ลักษณ์ พุทธธรรม (ธ)

นอบน้อม เชิดชู ปกป้อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ทุกๆ พระองค์

สถานที่นี้เป็นสถานที่สงบ ฝึกใจ ฝึกตน หากใจยังสกปรกจงกลับไปยังที่ของท่านเถอะ

สถานที่นี้เป็นที่เจริญ มรรคมีองค์ ๘ พรหมวิหาร ๔ เพื่อความหลุดพ้น

สถานที่นี้ ไม่รับเจิม ดูดวง ประกอบพิธีกรรมทางโลกทุกกรณี

ติดต่อเรา

๐๘.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. เวลาพักผ่อนของท่านอาจารย์ ห้ามรบกวนโดยเด็ดขาด

๑๓.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. เวลาที่ศิษยานุศิษย์และญาติธรรม สามารถเข้าพบและสนทนาธรรมกับครูบาอาจารย์ได้ตามเหมาะสม

ศาลาภิรมย์ธรรม ๘๕/๑ ม.๓ ต.โดมประดิษฐ์ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ๓๔๒๖๐

norkaewplace@gmail.com

ห้ามบุคคลภายนอก เข้าเขตหน่อแก้วยามวิกาล ในทุกกรณี

ห้ามศิษยานุศิษย์นำสิ่งเสพติดทุกชนิด เข้ามาภายในหน่อแก้วสถาน

เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์ อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา